ยินดีต้อนรับเข้าสู่Blogger ของฉัน

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Internet

INTERNET

Internet คืออะไร
                        Internet คือ ระบบเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันโดยใช้ protocol มาตรฐานสำหรับinternet (IP)
 เพื่อบริการแก่ผู้ใช้จำนวนหลายพันล้านคนทั่วโลก เป็นเครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลาย (network of networks)
ความสำคัญของ internet ในการศึกษา
  - เป็นขุมคลังอันมหึมาของสารสนเทศ
 - มีข่าวสารข้อมูลใน Internet ให้เข้าถึงได้แบบ online / สามารถเข้าถึงสารสนเทศในเวลาใดเวลาหนึ่ง
    ได้
 - แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ online ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ encyclopedia ที่ใครก็สามารถเข้าถึงสารสนเทศonline นี้ ได้ตามที่ต้องการ
ISP หรือ Internet Service Provider
Ò หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
Ò ทำหน้าที่เสมือนประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้
หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมี ประเภท
1. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (commercial ISP)
Рตัวอย่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์



2. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ(non- commercial ISP)
Рตัวอย่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ




การเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต
Ò ผ่าน ISP โดยมีอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท
วิธีที่1 ต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยมีโมเด็ม(modem)ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วต่อ
เข้ากับสายโทรศัพท์
ถ้าเป็นสายISDN (Integrated Services Digital Network)ต้องใช้โมเด็ม ISDN
โดยเฉพาะ



วิธีที่2 ต่อด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่า ADSL หรือบรอดแบรนด์ โดยใช้โมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์ แต่จะรับส่งสัญญาณในสายคนละแบบ
คนละความถี่กัน ซึ่งจะทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา และต้องอาศัยอุปกรณ์
พิเศษที่ชุมสายจึงจะใช้ได้
เมื่อเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ได้แล้ว ก็หมุนหมายเลขโทรศัพท์
ปลายทางไปยัง
 ISP  เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Dial- Up

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
     อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อบนระบบเครือข่าย
     การทำงานของระบบ Network และ Internet
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อบนระบบเครือข่าย
                ระบบเครือข่ายยังต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม และในบางครั้งก็ต้องค้นหาเส้นทางการขนส่งข้อมูลระหว่างโหนด และระหว่างส่วนต่างๆ ของระบบเครือข่าย ซึ่งเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อบนระบบเครือข่าย ประกอบด้วย อุปกรณ์รวมสัญญาณ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
1.              อุปกรณ์รวมสัญญาณ
1.1 มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer) นิยมเรียกกันว่า มัก (MUX) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวมข้อมูล (multiplex) จากเครื่องเทอร์มินัลจำนวนหนึ่งเข้าด้วยกัน และส่งผ่านไปยังสายสื่อสารเดียวกัน  และที่ปลายทาง MUX อีกตัวจะทำหน้าที่แยกข้อมูล (de-multiplex) ส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการการรวมข้อมูล (Mutiplexing)  

ภาพแสดงการทำงานของอุปกรณ์มัลติเพล็กเซอร์
การรวมข้อมูล แบบmultiplex เป็นวิธีการรวมข้อมูลจากหลายๆ จุด แล้วส่งผ่านไปตามสายส่งเพียงสายเดียว ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
1.             การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา (Time Division Multiplexer หรือ TDM)
2.             การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่  (Frequency Division Multiplexer หรือ FDM)
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา (Time Division Multiplexer หรือ TDM)
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลาจะใช้เส้นทางเพียงเส้นทางเดียว และคลื่นพาห์ความถี่เดียวเท่านั้น แต่ผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับการจัดสรรเวลาในการเข้าใช้ช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลไปยังปลายทาง 

ภาพแสดงการการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (Frequency Division Multiplexer หรือ FDM)
เป็นวิธีที่ใช้กันทั้งระบบที่มีสายและระบบคลื่นวิทยุหลักการของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่คือการรวมสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ให้อยู่ในคลื่นพาห์เดียวกันที่ความถี่ต่างๆ สัญญาณเหล่านี้สามารถที่จะใช้เส้นทางร่วมกันได้
2.               คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator)
เรียกสั้นๆ ว่า คอนเซน เป็นมัลติเพลกเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น คือ
-มีหน่วยความจำ (buffer) ที่ใช้เก็บข้อมูลเพื่อส่งต่อได้ทำให้สามารถเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงกับความเร็วต่ำได้
- มีการบีบอัดข้อมูล (compress) เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้น
3. ฮับ (Hub)
เป็นอุปกรณ์ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดในระบบเครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบดาว มีการใช้ฮับอย่างแพร่หลายในระบบเครือข่าย2 ประเภท คือ 10BaseT Ethernet และToken Ring ซึ่งในระบบเครือข่ายแต่ละประเภท ฮับจะเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อโหนดต่างๆ และทำให้โหนดเหล่านี้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดย ทำการติดตั้งฮับไว้ที่ศูนย์กลางของโทโปโลยีแบบดาว โหนดแต่ละโหนดที่เข้ามามีส่วนร่วมในระบบเครือข่ายจะเชื่อมต่อผ่านฮับ และจะสื่อสารกันโดยส่งข้อมูลข่าวสารผ่านฮับเมื่อมองจากภายนอกฮับ  จะมีจุดเชื่อมต่อที่เรียกว่า พอร์ต (port) ไว้จำนวนหนึ่ง สำหรับให้โหนดหรืออุปกรณ์ระบบเครือข่ายอื่นเชื่อมต่อเข้ามา เมื่อข้อมูลถูกส่งมาจากโหนดต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับฮับ ข้อมูลนั้นๆ จะถูกทำสำเนาไปยังพอร์ตต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าฮับจะสามารถส่งกระจายข้อมูลไปยังโหนดทุกตัวได้

อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
1.              รีพีตเตอร์ (Repeater)
 รีพีตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับฟิสิคัลเลเยอร์ ( Physical Layer) ใน OSI Model มีหน้าที่เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่ายเพื่อเพิ่มระยะทางในการรับส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายให้
ไกลออกไปได้กว่าปกติ ข้อจำกัดคือ ทำหน้าที่ในการส่งต่อสัญญาณที่ได้มาเท่านั้น จะไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ซึ่งอาศัยวิธีการ access ที่แตกต่างกัน เช่น Ethernet กับ Token Ring และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย
2. บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์ มักใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน(LAN Segment2 วงเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยาย
ขอบเขตของเครือข่ายออกไปเรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก โดยบริดจ์อาจเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์เฉพาะ หรือ ซอฟแวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ บริดจ์จะมีการทำงานที่ชั้นของข้อมูล (Data
Link Layer) ทำการกรองสัญญาณและส่งผ่านแพ็กเก็ตข้อมูลไปยังส่วนต่างๆ ของระบบเครือข่าย ซึ่ง
อาจจะเป็นส่วนของระบบเครือข่ายที่มีโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันได้ เช่น บริดจ์สามารถ
เชื่อมโยงส่วนของ Ethernet เข้ากับส่วนของ Token Ring ได้ และถึงแม้ว่าระบบเครือข่ายทั้งคู่จะ
ใช้โปรโตคอลที่แตกต่างกัน บริดจ์ก็ยังคงสามารถโยกย้ายแพ็กเก็ตข้อมูลระหว่างระบบเครือข่ายทั้ง
สองได้อยู่ดี
3. สวิตซ์ (Switch)
สวิตซ์ หรือที่นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็นบริดจ์แบบหลายช่องทาง
(Multiport Bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย LAN แบบ Ethernet เพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลายๆ
เครือข่าย (Segment) เข้าด้วยกัน สวิตซ์จะช่วยลดการจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น และเนื่องจาก
การเชื่อมต่อแต่ละช่องทางกระทำอยู่ภายในตัวสวิตซ์เองทำให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเครือข่าย(Switching) ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริดจ์จำนวนหลายๆ ตัวเชื่อมต่อกัน
                4. เราท์เตอร์ (Router)
เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงกว่าบริดจ์ทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
ที่ใช้โปรโตคอลต่างกันได้ และสามารถทำการกรอง (Filter) เลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่าน
ไปได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย นอกจากนี้ เราท์เตอร์ยังสามารถหาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติด้วย แต่เราท์เตอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่ขึ้นอยู่กับโปรโตคอล กล่าวคือ ในการใช้งานจะต้องเลือกซื้อเราท์เตอร์ที่สนับสนุนโปรโตคอลเครือข่ายที่ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
                5. เกทเวย์ (Gateway)
เกทเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในส่วนของโปรโตคอล และสถาปัตยกรรมเครือข่าย เช่น เชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่างระบบเครือข่าย LAN และระบบ Mainframe หรือเชื่อมระหว่างเครือข่าย SNA ของ IBM กับ DECNet ของ DEC เป็นต้น
โดยปกติ เกทเวย์มักเป็น Software Package ที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง (ซึ่งทำให้เครื่องนั้นมีสถานะเกทเวย์) และมักใช้สำหรับเชื่อม Workstation เข้าสู่เครื่องที่เป็นเครื่องหลัก (Host) ทำให้เครื่องเป็น Workstation สามารถทำงานติดต่อกับเครื่องหลักได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับ
ข้อแตกต่างของระบบเลย
ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การทำงานของระบบ Network และ Internet
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายเฉพาะที่  (Local Area Network LAN)
 เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภายในอาคาร หรือหน่วยงานเดียวกัน 
2. เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network MAN
                
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น  ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง 
เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
3. เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network WAN
                
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ  โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการครอบคลุมไปทั่วประเทศ หรือทั่วโลก เช่น อินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology)
การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์ และการเดินสายสัญญานคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย  รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย  โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลักได้ 4 แบบ คือ เครือข่ายแบบดาว เครือข่ายแบบวงแหวน เครือข่ายแบบบัส เครือข่ายแบบต้นไม้

1. แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบดาว
เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นรูปแบบเครือข่ายหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
ข้อดีและข้อเสียของเครือข่ายแบบดาว
·       ข้อดี
1.             การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย
2.             หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบ
3.             ง่ายในการให้บริการเพราะรูปแบบเครือข่ายแบบดาวมีศูนย์กลางทำหน้าที่ควบคุม
·       ข้อเสีย
1. ถ้าสถานีกลางเกิดเสียขึ้นมาจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากกว่าเครือข่ายแบบบัส และ แบบวงแหวน

2. แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงของสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป


ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบวงแหวน
เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการ สื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
     ข้อดี
1. การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่
2. การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล
     ข้อเสีย
1. ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร
2. เมื่อโหนดหนึ่งต้องการส่งข้อมูล โหนดอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา

3 เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล  ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน ในการติดตั้งเครือข่ายแบบบัสนี้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียว ซึ่งจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบบัส
อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป

     ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
     ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด

4. แบบต้นไม้ (Tree Network)   เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน




ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น3 ประเภทคือ
1.             ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง (Centrallized Networks)
2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3. ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ ใช้การเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง  เพื่อให้เครื่องเครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน โดยส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผลที่เครื่องกลาง ซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง

                                                        การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer
แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย  เครื่องแต่ละสถานีงานมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเองเช่น ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้

ภาพแสดงระบบเครือข่าย Peer-to-Peer

3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบClient/Server ราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเอง
ระบบเครือข่ายแบบ Cleint/Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ
Multiprocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถ
เพิ่มจำนวนเครื่อง Servers สำหรับให้บริการต่างๆ เพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้ ส่วนข้อเสียของ
ระบบนี้ก็คือ มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to-Peer รวมทั้งต้องการบุคลากรเพื่อ
การบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะอีกด้วย

ภาพแสดงระบบเครือข่ายแบบ Cleint/Server

การถ่ายโอนข้อมูล
เป็นการส่งสัญญาณออกจากเครื่องและรับสัญญาณเข้าไปในเครื่อง การถ่ายโอนข้อมูลสามารถจัดจำแนกได้ 2 แบบ
 คือการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
1.             การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน

2.การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การส่งข้อมูลแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการตัวกลางสำหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรมเสียก่อน แล้ว
ค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ และที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิตให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1 ดังแสดงในรูป

การติดต่อแบบอนุกรมอาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
1) สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplexข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplexทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น
ทิศทางการส่งข้อมูลแบ่งออกได้ดังนี้
1.ซิมเพล็กซ์ (Simplex tranmission)ข้อมูลสามารถเดินทางไปในทิศทางเดียวเท่านั้น เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่องทางเดินรถแบบทางเดียว ตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจะถูกส่งมาจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ได้เพียงทิศทางเดียวโดยไม่มีสัญญาณตอบกลับ อุปกรณ์ส่งข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์บางชนิดก็ส่งในลักษณะนี้ เช่น เครื่องมือตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกจากแผ่นดินไหว


ภาพแสดงทิศทางการส่งข้อมูล
2.ฮาฟ-ดูเพล็กซ์ (Half -duplex transmission)ข้อมูลสามารถเดินทางไปได้ทั้งสองทิศทาง แต่ต้องไม่ใช่ในเวลาเดียวกัน เหมือนกับการเดินรถตรงช่วงข้ามสะพานแคบๆ ไม่สามารถสวนทางกันได้ต้องสลับกัน ตัวอย่างเช่น การสื่อสารด้วยวิทยุที่ใช้ในหน่วยทหารดับเพลิง หรือตำรวจ เป็นต้น คู่สนทนาจะต้องสลับกันพูด การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้แบบฮาฟ-ดูเพล็ก
3. ฟูล-ดูเพล็กซ์ (Full -duplex transmission)ข้อมูลสามารถถูกส่งไปและกลับได้ในเวลาเดียวกัน เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่องทางเดินรถแบบสองทาง รถยนต์สามารถวิ่งสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การสนทนาโดยโทรศัพท์ คู่สนทนาสามารถพูดและฟังในเวลาเดียวกันได้ นิยมใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)
จุดเริ่มต้นของเครือข่ายไร้สาย(Wireless LAN)  
-เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971
                -ลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ เครื่อง  
ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network)
         
           คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความ คล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนํามาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่น ความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศทะลุกําแพงเพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต่องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบ เครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย
คุณลักษณะที่สำคัญของWLAN
                WLANไม่ต้องใช้สาย ทําให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทําได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตําแหน่งการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
Peer-to-peer ( ad hoc mode )
รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรง ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จํานวน เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ   wireless adapter cards  โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน 
Client/server (Infrastructure mode)               ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดย อาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทําหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้ สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะ สามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต่องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสําหรับการนําไปขยายเครือ ข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิตห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพในการทํางานให้มากขึ้น
Multiple access points and roaming
การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะ อยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับ ส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง
แนวโน้มของระบบเครือข่ายไร้สาย
     ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีระบบเครือข่ายมีการพัฒนาที่รวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไป อย่างเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง
     ในอนาคตอันใกล้นี้จะได้เห็นระบบเครือข่ายไร้สายที่ทํางานได้รวดเร็วขึ้นเนื่องจากการ พัฒนาในเทคนิคการมอดูเลตสัญญาณคลื่นวิทยุ
การพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ในระดับพื้นฐานช่วยกระตุ้นให้ระบบเครือข่ายไร้สายพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว เช่นคลื่นความถี่วิทยุที่สร้างจากสาร Galliumarsenide และ ชิป DSP เป็นต้น